แนวคิด หลักการและทฤษฎี ของนวัตกรรม
1.
การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้
เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ
ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
3.
การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน
เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
4.
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก
เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน
นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ
ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า "Web-based
learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any
where, Any time for Everyone) การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง
ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น
แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง
และรวดเร็วมากกว่าก่อน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทบาทของนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่
ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้นเช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก
ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์ (Video-on-Demand) การประชุมทางไกล
(Teleconference) อี-เลินนิ่ง (e-Learning) อี-เอ็ดดูเคชั่น (e-Education) เป็นต้น
ทฤษฎีการเรียนเรียนรู้ทั้งสองกลุ่มมีหลักการบางประการที่คล้ายคลึงกันและสามรถนำมาประยุกย์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาการสอนได้ดังนี้
1.การพัฒนาแรงจูงใจ
การเรียนรู้ที่ได้ผลนั้นต้องเริ่มจากการที่ผู้เรียนมีความต้องการและความสนใจที่จะเรียนและสิ่งที่เรียนนั้นมีความหมายและความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของผู้เรียน
ครูอาจสร้างความสนใจหรือพัฒนาแรงจูงใจของผู้เรียนได้โดยใช้สื่อการสอนในการนำเสนอข้อมูล
2.การให้ความสนใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลผู้เรียนแต่ละคนมีอัตราความเร็วในการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
องค์ประกอบทางสติปัญญา ระดับการศึกษา บุคลิกภาพ รูปแบบการเรียนรู้
จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมและความสามารถและความสามารถในการเรียนรู้
การกำหนดอัตราความเร็วในการนำเสนอเนื้อหาในสื่อควรพิจารณาด้วยความเหมาะสมของช่วงเวลาที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความเข้าใจด้วย
3.การให้ความสำคัญของวัตถุประสงค์ในการเรียน
การให้ผู้เรียนทราบวัตถุประสงค์ในการเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียนรู้ได้มากกว่าการเรียนโดยที่ผู้เรียนไม่สามารถทราบวัตถุประสงค์ในการเรียน
4.
การจัดเนื้อหา การเรียนรู้จะง่ายขึ้นเมื่อมีการกำหนดเนื้อหา
วิธีการและกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องกระทำอย่างเหมาะสมและมีความหมายต่อผู้เรียน
การจัดเนื้อหาอย่างสมเหตุสมผลจะช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาได้ดีขึ้นนอกจากนี้อัตราความเร็วที่ไม่เหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาอาจทำให้เกิดความยากลำบากและซับซ้อนในการเรียนรู้ได้
5.
การเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน ผู้เรียนควรมีพื้นฐานความรู้
หรือประสบการณ์ที่จำเป็นในการเรียนอย่างเพียงพอ ในการเรียนรู้จากครู
หรือในการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อการสอน
ในการออกแบบการสอนและการวางแผนเพื่อการผลิตสื่อ
จึงต้องให้ความสำคัญต่อระดับความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ผู้เรียนควรมีด้วย
6.
การคำนึงถึงอารมณ์ของผู้เรียน
นอกเหนือจากความเฉลียวฉลาดแล้วอารมณ์เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
สื่อการสอนสามาถทำให้ผู้เรียนเกิดอารมณ์ต่างๆ ได้ เช่น สนุก ตื่นเต้น และวิตกกังวล
เป็นต้น
7.
การมีส่วนร่วม การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อบุคคลสร้างสภาวะความเป็นเจ้าของ หรือ
ยอมรับเอาเนื้อหาการเรียนรู้นั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของตน ดังนั้น
การเรียนรู้จึงต้องอาศัยกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง
แทนการนิ่งฟังการบรรยายอันยาวนาน การมีส่วนร่วมหมายถึง กิจกรรมพัฒนาทักษะทางกาย
และกิจกรรมพัฒนาทักษะเชิงความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างการเรียนการสอน
การได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เข้าใจ
และจดจำเรื่องที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น
8.
การรู้ผลแห่งการกระทำ การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เมื่อผู้เรียนรู้ผลแห่งการกระทำของตน หรือได้รู้ความก้าวหน้าในการเรียนของตน
การรู้ว่าตนประสบผลสำเร็จ หรือรู้ว่าการกระทำของตนถูกต้อง
หรือการรู้จุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงจูงใจในการเรียนต่อไป
9.
การเสริมแรง ความสำเร็จในการเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจที่เรียนต่อไป
จึงอาจกล่าวได้ว่า
ความสำเร็จเป็นรางวัลในการเรียนซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ
และแสดงพฤติกรรมที่ตามมาไปในทางที่พึ่งปราถนา
10.
การฝึกหัดและการกระทำซ้ำ อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
เรื่องใดที่จะประสบความสำเร็จได้ โดยอาศัยการสอนหรือการฝึกปฏิบัติเพียงครั้งเดียว
ความรู้และทักษะที่สะสมอย่างต่อเนื่องจนเป็นความเฉลียวฉลาด
หรือความสามารถของแต่ละบุคคลนั้น ย่อมเกิดจากการฝึกหัดและการกระทำซ้ำๆ
ในสภาพการที่ต่างกัน
11.
การประยุกต์ใช้ผลผลิตของการเรียนรู้ที่พึงปรารถนา คือ
การที่ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้
หรือการถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่สถานการณ์ใหม่
หรือมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาใหม่ๆ ความเข้าใจที่สมบูรณ์แบบจึงจะเกิดขึ้น
สิ่งแรกที่ผู้เรียนจะต้องรู้ หรือค้นพบคือ กฎเกณฑ์ต่างๆ หรือข้อสรุปต่างๆ
ซึ่งสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ หรือหัวข้อการเรียน
ต่อจากนั้นต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจโดยนำกฎเกณฑ์ที่เรียนมาประยุกต์ใช้
ในสถานการณ์ใหม่ หรือใช้ในการแก้ปัญหาที่แท้จริง
การนำหลักการเรียนรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ย่อมจะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
1.2
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
จาก (2548,http://www.quickskynetwork.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=288124) ได้กล่าวไว้ว่า
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulus-Response)
หรือทฤษฎี เอส-อาร์ (S-R theory) และนำมาประยุกต์ใช้
(Defleur, 1966) อธิบายว่า บุคคลมีความแตกต่างกันหลายประการ
เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ เป็นต้น และความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและการเลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน
หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ที่สำคัญ
คือ
1.บุคคลมีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพและสภาพจิตวิทยา
2.ความแตกต่างกันดังกล่าวนี้เป็นเพราะบุคคลมีการเรียนรู้
3.บุคคลที่อยู่ต่างสภาพแวดล้อมกันจะได้รับการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
4.การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันทำให้บุคคลมีทัศนคติ
ค่านิยม ความเชื่อถือ และบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ในการศึกษาปัจจัยต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง สุรพงษ์ โสธนะเสถียร(
2539, หน้า 63-64) พบว่ามีปัจจัย 2
ประการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยอมรับการสื่อสารที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งสาร (sender)
คือ
1.ภูมิหลังหรือปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันย่อมจะมองหรือจะยอมรับประเด็นในการสื่อสารแตกต่างกันไป
2.ภูมิหลังหรือปัจจัยส่วนบุคคล
ประกอบด้วย
2.1.
ภูมิหลังของประชากร (Demographics) เช่น อายุ เพศ
และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น
2.2.
ภูมิหลังทางจิตวิทยา (Psychographics) หรือ แบบแผนการดำเนินชีวิต (Life
Style)
2.3.
ภูมิหลังในการเปิดรับสื่อทั้งนี้เนื่องมาจากนิสัยการเปิดรับสื่อที่ไม่เหมือนกันของแต่บุคคล
สามารถส่งผลต่อทัศนคติของบุคคล
กล่าวคือทำให้บุคคลมีความชื่นชอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เหมือนกัน
แนวคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual differences theory) ได้นำมาเป็นตัวแปรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้บนพื้นฐานความคิดที่ว่า
เพศ อายุ รายได้ ที่แตกต่างทำให้การป้องกันตนเองของวัยรุ่นในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน
นอกจากนี้กลุ่มทางสังคมเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการสื่อสาร
ซึ่งทฤษฎีการแบ่งกลุ่มทางสังคม (Social categories theory)ได้กล่าวถึงแรงผลักดันที่ทำให้บุคคลหนึ่ง ได้มีการใช้สื่อนั้น
เกิดจากคุณสมบัติของบุคคลในด้านองค์ประกอบทางด้านสังคม
โดยอธิบายว่าบุคคลที่มีลักษณะทางสังคม สภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกัน เช่น ครอบครัว
วัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะทางประชากร เช่น เชื้อชาติ ศาสนา อายุ เพศ การศึกษา รายได้
ฯลฯ จะมีพฤติกรรมการสื่อสารที่คล้ายคลึงกัน (พัชนี เชยจรรยาและคณะ, 2541, หน้า 213)
ในการเลือกรับหรือใช้สื่อของบุคคลเกิดจากความต้องการมีเพื่อนเพราะธรรมชาติของมนุษย์ไม่สามารถอยู่ได้เพียงลำพัง
ดังนั้นบุคคลทุกคนจะแสวงหาข่าวสารให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
ทั้งในแง่ของการได้รับความรู้ ความสนุกสนาน ความบันเทิงหรือความสุขกายสบายใจ
เพื่อตอบสนองความต้องการของตนและทำให้ตนเองเกิดความพึงพอใจ
1.3
ทฤษฎีพัฒนาการ
ประหยัด
จิราวรพงศ์ (2547, หน้า 44) ได้กล่าวว่า
ทฤษฎีพัฒนาการของเปียเจท์
ได้อธิบายว่าการพัฒนาสติปัญญาและความคิดของผู้เรียนนั้น
เกิดจากการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนควรจะต้องจัดสภาพแวดล้อม
ทางการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนด้วย
ทฤษฎีพัฒนาการของบรูนเนอร์
ได้อธิบายว่าความพร้อมของเด็กสามารถจะปรับได้
ซึ่งสามารถจะเสนอเนื้อหาใดๆ แก่เด็กในอายุเท่าใดก็ได้แต่จะต้องรู้จักการจัดเนื้อหา
และวิธีการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเหล่านั้น
ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจเด็ก
และรู้จักกระตุ้นโดยการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
ทฤษฎีพัฒนาการของอิริคสัน
ได้อธิบายว่า
การพัฒนาการทางบุคลิกภาพย่อมขึ้นอยู่กับการปกิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์กับสภาพสังคมที่มีอิทธิพลมาเป็นลำดับขั้นของการพัฒนาและจะสืบเนื่องต่อๆไป
เด็กที่มีสภาพสังคมมาดีก็จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีด้วย
ดังนั้นผู้สอนควรจะสร้างสัมพันธภาพกับผู้เรียนให้ความสนใจเพื่อแก้ปัญหาค่านิยมบางประการ
ทฤษฎีของกีเซล
ได้อธิบายว่า
พฤติกรรมของบุคคลจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการซึ่งจะเป็นไปตามธรรมชาติและเมื่อถึงวัยก็สามารถกระทำพฤติกรรมต่างๆได้เอง
ไม่จะเป็นต้องฝึกหรือเร่งเมื่อยังไม่พร้อม
ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถ ความสนใจ
และความต้องการของผู้เรียน
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
รศ.ดร.สาโรช
โศภี(2546,)ได้กล่าวไว้ว่า
การสื่อสาร (communication
) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน
โดยมีองค์ประกอบดังนี้ผู้ส่งสารคือผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ
ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร
2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร
มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ข่าวสารในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ
ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ
เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น
สื่อหรือช่องทางในการรับสารคือ
ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ผู้รับสารคือผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร
การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้
มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
ตัวอย่างแบบจำลองทางการสื่อสาร
ปี 1954
Wilber schramm และ C.E. Osgood ได้สร้าง Model
รูปแบบจำลองเชิงวงกลมการสื่อสาร เป็นรูปแบบของการสื่อสารสองทาง (Two-way
Communication)
ตามแบบจำลองของแชนนันและวีเวอร์(Shannon
and Weaver) จะมองถึงองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารเช่นเดียวกับเบอร์โลแล้ว
ยังให้ความสำคัญกับ "สิ่งรบกวน" (Noise) ด้วยเพราะในการสื่อสารหากมีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นก็จะหมายถึงการเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร
เช่น หากอาจารย์ใช้ภาพเป็นสื่อปี 1960 แบบจำลอง SMCRของเบอร์โล(Berlo)ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ คือ
1.ผู้ส่งสาร
(Source) ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถเข้ารหัส(Encode)
เนื้อหาข่าวสารได้มีความรู้อย่างดีในข้อมูลที่จะส่งสามารถปรับระดับให้เหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับ
2.
ข่าวสาร (Message) คือเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่ง
3.
ช่องทางการสื่อสาร(Channel) ให้ผู้รับได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.
ผู้รับสาร (Receiver) ผู้ที่มีควาสามารถในการถอดรหัส ( Decode)
สารที่รับมาได้อย่างถูกต้อง แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล
จะให้ความสำคัญในปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จได้แก่
ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ระดับความรู้ ระบบสังคมและวัฒนธรรม
ซึ่งผู้รับละผู้ส่งต้องมีตรงกันเสมอ
3.
ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบ (Systems
theory) จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20
ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา
โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
พัสตรา สุขคง ได้กล่าวว่า
ระบบ
หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นมาเป็นหนึ่งเดียว
มีความสัมพันธ์กันในทางหนึ่งทางใดรวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน
กระทำการเพื่อความสำเร็จตามที่ต้องการ และการเคลื่อนไหวในส่วนหนึ่งจะมีปฏิกิริยากระทบต่อส่วนอื่น
ๆ ด้วย ส่วนประกอบแต่ละส่วนก็เป็นระบบย่อยในตัวของมันเอง โดยส่วนประกอบย่อย ๆ
หลายส่วนรวมกันอยู่เช่นกัน เช่น องค์การเป็นระบบซึ่งประกอบไปด้วยฝ่ายการผลิต
ฝ่ายการตลาด และฝ่ายการเงิน ฯลฯ ในขณะเดียวกัน ที่ฝ่ายต่าง ๆ
ก็เป็นระบบซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีกคือ ประกอบไปด้วยงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงใดที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของระบบย่อยมีผลกระทบต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่
หรืออาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบคือกลุ่มของส่วนที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
จากการพิจารณากิจกรรมในรูปของระบบจึงหมายความว่า
กิจกรรมหนึ่ง ๆ อาจเป็นผลมาจาก
กิจกรรมย่อย ๆ หลาย ๆ กิจกรรมรวมกันก็ได้ ซึ่งในระหว่างกิจกรรมเหล่านั้น
การกระทำส่วนหนึ่งของ กิจกรรมหนึ่ง ก่อให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นส่วนอื่น ๆ หรือกิจกรรมอื่น
ๆ ระบบที่เน้นความสนใจเฉพาะภายในระบบคือ ระบบปิด
และระบบที่ขยายความสนใจไปถึงระบบภายนอกที่ใหญ่กว่าก็คือ ระบบเปิด
ระบบเปิดนี้ถือว่า องค์การเป็นระบบย่อยของระบบที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกอีกทีหนึ่ง
วิธีการเชิงระบบเห็นว่า ระบบการบริหาร ซึ่งหมายถึง
การจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น มีลักษณะเป็นระบบที่คล้ายกับระบบทางกายภาพและทางชีววิทยา
และเห็นว่าในระบบบริหารนั้นประกอบด้วยระบบใหญ่และระบบย่อย
ระบบเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดตัวแปร ตัวคงที่
ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างกันและการติดต่อสื่อสาร
และต้องมีปัจจัยนำเข้า (input) กับปัจจัยนำออก (output) ไว้
คุณลักษณะของระบบ ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
-
ส่วนต่าง ๆ ของระบบจะอยู่ในสถานะที่เคลื่อนไหวได้ โดยเหตุที่สิ่งต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น
แต่ละสิ่งต่างก็มีคุณสมบัติและกำลังความสามารถของมัน
- การเคลื่อนไหวหรือแสดงออกของส่วนต่าง
ๆ จะมีปฏิกิริยากระทบต่อกันเสมอ เมื่อสิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้มีลักษณะรวมตัวอยู่ด้วยกัน การเคลื่อนไหวหรือการแสดงออกของแต่ละส่วน
จึงย่อมก่อให้เกิดปฏิกิริยากระทบและตอบโต้ซึ่งกันและกัน
-
ในระบบหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ (subsystems) และภายในระบบย่อยก็อาจประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีกได้
- การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ณ
ส่วนใดส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ ย่อมทำให้มีผลกระทบที่ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ (chain
of effects) และจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงส่วนอื่นของระบบด้วยความสมดุลจึงเกิดขึ้นได้
หรือในทำนองเดียวกันอาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยอันใดอันหนึ่ง
ย่อมสามารถทำให้กระทบกระเทือนถึงระบบที่ใหญ่กว่าได้ด้วยเช่นกัน
4.
ทฤษฎีการเผยแพร่
กฤษมันท์
วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่
แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ
ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
การเผยแพร่ (Diffusion)
หมายถึง
กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย
ฉะนั้นการเผยแพร่จึงเป็นกระบวนการซึ่งนวัตกรรม(Innovation) จะถูกนำไปถ่ายทอดผ่านช่องทางการสื่อสาร
(communication channels) ในช่วงเวลาหนึ่ง(Time) กับสมาชิกที่อยู่ในระบบสังคมหนึ่ง(Social System) ให้เกิดการยอมรับ(Adoption) ดังรูป ต่อไปนี้
การศึกษาถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ
1.ต้องการทราบว่าผลผลิตของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นที่ยอมรับหรือไม่เนื่องจากการปฏิบัติจริงนั้นไม่เหมือนกัน
2.นักเทคโนโลยีการศึกษาสามารถจัดเตรียมในการเผยแพร่งานเทคโนโลยีการศึกษาให้กับกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.นำไปสู่การเผยแพร่นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ
สร้างรูปแบบการเผยแพร่และรูปแบบการยอมรับนวัตกรรมขึ้น
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน
ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
4 ประการ คือ
1.
ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2.
ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน
ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3.
ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4.
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ
เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
การจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป
และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1
ทฤษฎีการเรียนรู้ ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่
คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
1.2
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม
ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
1.3
ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสัน กีเซล
2.
ทฤษฎีการสื่อสาร รศ.ดร.สาโรช โศภี
ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ
และผู้รับสื่อ
3.
ทฤษฎีระบบ
จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20
ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา
โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
4.
ทฤษฎีการเผยแพร่ กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า
ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น
เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่
แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น